วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

สอบเจ้าพนักงานธุรการ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

สอบเจ้าพนักงานธุรการ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

1. หนังสือราชการมีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด ง. 6 ชนิด
ตอบ ง. ชนิดของหนังสือราชการ
1) หนังสือภายนอก ใช้ในการติดต่อราชการทั่วไป
2) หนังสือภายใน ใช้ในการติดต่อราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน
3) หนังสือประทับตรา ใช้ในการติดต่อราชการเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
4) หนังสือสั่งการ ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
5) หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว
6) หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นเอกสารของทางราชการ ได้แก่ หนังสือรับรองรายงานการ ประชุม บันทึก และหนังสืออื่น
2. “หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้กระดาษตราครุฑ ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ .....” คือ หนังสือราชการชนิดใด
ก. หนังสือภายนอก ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือประทับตรา ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ตอบ ก. หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ใช้กระดาษตราครุฑ เขียนเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก
3. ข้อใด เรียงลำดับโครงสร้างของหนังสือภายนอกได้ถูกต้อง
ก. หัวหนังสือ-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ
ข. หัวหนังสือ-เหตุที่มีหนังสือไป-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ
ค. หัวหนังสือ-เหตุที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ
ง. หัวหนังสือ-จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป-เหตุที่มีหนังสือไป-ท้ายหนังสือ
ตอบ ข. โครงสร้างหนังสือภายนอกที่ถูกต้อง
1) หัวหนังสือ 2) เหตุที่มีหนังสือไป 3) จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป 4) ท้ายหนังสือ
4. “ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ” อยู่ในส่วนใดในโครงสร้างหนังสือภายนอก
ก. หัวหนังสือ ข. เหตุที่มีหนังสือไป
ค. จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป ง. ท้ายหนังสือ
ตอบ ก. หัวหนังสือมีรายละเอียดดังนี้
- ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และเลขประจำเจ้าของเรื่อง (ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ) ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง
- ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการที่เป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งด้วย (ส่วนราชการที่ลงในส่วนหัวหนังสือ เป็นส่วนราชการ “เจ้าของหนังสือ” แต่ส่วนราชการที่ลงในส่วนท้ายหนังสือ เป็นส่วนราชการ “เจ้าของเรื่อง” เช่น หนังสือของกรมที่ดิน กรมที่ดินเป็นเจ้าของหนังสือ ถ้าหนังสือนั้นจัดทำโดยกองการเจ้าหน้าที่ กองการเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าของเรื่อง
- วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พ.ศ. ที่ออกหนังสือ
- เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความที่สั้นที่สุดของหนังสือนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง โดยปกติให้ ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
- คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ แล้วลงชื่อตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึงหรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีหนังสือถึงตัวบุคคลโดยไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
- อ้างถึง ถ้ามีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกัน ที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อน ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันเดือนปี พ.ศ. ของหนังสือนั้น
- สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้ามีสิ่งที่ส่งไปกับหนังสือนั้นด้วย ก็ให้ลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปกับหนังสือนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกัน ให้แจ้งว่าส่งไปโดยทางใด
5. หากมีสิ่งที่จะส่งไปกับหนังสือด้วย จะต้องลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารนั้นๆ ไว้ในหัวข้อใด
ก. คำขึ้นต้น ข. อ้างถึง
ค. สิ่งที่ส่งมาด้วย ง. สำเนาส่ง
ตอบ ค. สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้ามีสิ่งที่จะส่งไปกับหนังสือนั้นด้วย ก็ให้ลงชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปกับหนังสือนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกัน ให้แจ้งว่าส่งไปโดยทางใด
6. “เหตุที่มีหนังสือไป” จะต้องเป็นข้อความกี่ตอนจึงจะถูกต้อง
ก. 1 ตอน ข. 2 ตอน
ค. 3 ตอน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. เหตุที่มีหนังสือไป คือ ข้อความที่ผู้มีหนังสือไปแจ้งเหตุที่ต้องมีหนังสือไปยังผู้รับหนังสือ ซึ่งอาจเป็นข้อความตอนเดียว หรือ 2 ตอน หรือ 3 ตอนก็ได้
7. โครงสร้างของหนังสือภายในมีลักษณะแตกต่างกับหนังสือภายนอกในส่วนใด
ก. คำขึ้นต้น ข. เรื่อง
ค. สิ่งที่ส่งมาด้วย ง. คำลงท้าย
ตอบ ง. หนังสือภายใน โครงสร้างเช่นเดียวกับหนังสือภายนอก เว้นแต่
1) ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
2) คำลงท้าย หนังสือภายในไม่มีคำลงท้าย
8. กรณีใดที่ไม่สามารถใช้หนังสือชนิดหนังสือประทับตราได้
ก. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ข. หนังสือที่เป็นกรณีเรื่องสำคัญ
ค. หนังสือแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
ง. การเตือนเรื่องค้าง
ตอบ ข. หนังสือประทับตราคือ หนังสือติดต่อราชการที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบและลงชื่อย่อกำกับตรา ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ หรือกับหน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ และกับบุคคลภายนอก แต่ใช้ได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
9. คำใด ไม่ใช้เป็นคำเริ่มต้นแจ้งเหตุที่มีหนังสือไป
ก. ด้วย ข. เนื่องจาก
ค. อ้างถึง ง. อนุสนธิ
ตอบ ค. คำเริ่มต้นแจ้งเหตุที่มีหนังสือไป จะเริ่มต้นด้วยคำใดคำหนึ่งใน 5 คำนี้ คือ
- ด้วย ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น
- เนื่องจาก ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น และต้องการอ้างเป็นเหตุอันหนักแน่นที่จำเป็นต้องมีหนังสือไป เพื่อให้ผู้รับดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ตาม ตามที่ อนุสนธิ ใช้ในกรณีที่เคยมีเรื่องติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อน ระหว่างผู้มีหนังสือไปกับผู้รับหนังสือ ซึ่งจะอ้างเรื่องที่เคยติดต่อหรือรับรู้กันมาก่อนดังกล่าว โดยจะต้องมีคำว่า “นั้น” อยู่ท้ายตอนแรก และจะต้องมีข้อความซึ่งเป็นเหตุที่มีหนังสือไปอีกตอนหนึ่งเป็นอย่างน้อยเสมอ จะเขียนแจ้งเหตุที่มีหนังสือไปตอนเดียว แล้วเขียนจุดประสงค์ที่มีหนังสือไป (ที่เริ่มด้วยคำว่า “จึง”) ไม่ได้
10. จุดมุ่งหมายของการเขียนชื่อเรื่องคืออะไร
ก. เพื่อรู้ใจความย่อของหนังสือ ข. เพื่อถูกต้องตามหลักการสากลของการหนังสือ
ค. เพื่อสะดวกแก่การแยก เก็บ ค้น อ้างอิง ง. ข้อ ก และ ค ถูก
ตอบ ง. การเขียนชื่อเรื่อง ต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ เพื่อให้ได้รู้ใจความที่ย่อสั้นที่สุดของหนังสือ และเพื่อให้สะดวกแก่การแยก เก็บ ค้น อ้างอิง ชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1) ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรให้ยาวเกินกว่า 2 บรรทัด ยิ่งถ้าย่อให้ได้เพียงครึ่งบรรทัดยิ่งดี
2) เป็นประโยคหรือวลี เพราะถ้าเป็นเพียงคำนามหรือคำกริยา จะไม่ได้ใจความ
3) พอรู้ใจความว่าเป็นเรื่องอะไร เพราะผู้รับหนังสือย่อมอยากจะทราบในเบื้องต้นก่อนอ่านละเอียดทั้งฉบับว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
4) แยก เก็บ ค้น อ้างอิง ได้ง่าย เจ้าหน้าที่รับ-ส่งหนังสือ แยกเรื่อง ส่งหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องโดยไม่ต้องอ่านละเอียดทั้งฉบับ สามารถเก็บเข้าหมวดหมู่หรือค้นตามประเภทเรื่องได้รวดเร็ว สะดวกในการอ้างอิง
5) แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ประกอบด้วย
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ.2523 เเก้ไขเพิ่มเติม
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
สวัสดิการข้าราชการ
ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
สั่งซื้อแนวข้อสอบแจ้งที่อีเมล์ hpongsayathanawat@gmail.com
ระบุหน่วยงานและตำแหน่งที่สอบ ราคา 399 บาท
ชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 5492022200 ชื่อบัญชี หัสพงศ์ พงศยาธนาวัฒน์
ชำระเงินแล้วโทรแจ้ง 082-1068662 หรือ แจ้งทางอีเมล์อีกครั้งว่าโอนเงินแล้ว ระบุวันที่ เวลา ยอดเงินที่โอน
www.topthaitest.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น